top of page

 

อิทธิพลของเรื่องรามเกียรติ์ที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย

         

             รามเกียรติ์เป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมสูงในหมู่คนไทยเพราะเนื้อเรื่องมีความสนุกสนาน ประกอบด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์และสอดแทรกคุณธรรมไว้อีกทั้งอุปนิสัยของตัวละครก็สอดคล้องกับวัฒนธรรมของไทย เช่น นางสีดาเป็นแบบแผนของหญิงที่มีความชื่อสัตย์ต่อสามี พระรามเป็นแบบแผนของลูกที่ดี เป็นต้น

 

รามเกียรติ์จึงมีอิทธิพลต่อสังคมไทยหลายประการดังนี้ คือ

 

๑. ด้านภาษาและวรรณคดี ีมีสำนวนที่มาจากเรื่องรามเกียรติ์หลายสำนวน เช่น ลูกทรพี เหาะเกินลงกา สิบแปดมงกุฎ ราพณาสูร ตกที่นั่งพิเภก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้นิยมแต่งรามเกียรติ์ ทำให้เกิดรามเกียรติ์หลายสำนวน

๒. ด้านศิลปกรรม รามเกีรติ์ก่อให้เกิดแรงดลใจให้จิตรกรนำเรื่องราวไปวาดภาพตามฝาผนังโบสถ์ วิหาร เช่นเดียวกับเรื่องชาดกนอกจากนั้นยังมีการแกะสลัก การปั้นตัวละครต่างๆ ในเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อใช้ประดับในที่ต่างๆ

๓. ด้านนาฏศิลป์ เรื่องนี้นิยมนำมาแสดงโขน ละคร หนังใหญ่ จึงนับว่ามีอิทธิพลต่อนาฏกรรมไม่ใช่น้อย

๔. ด้านประเพณี รามเกียรติ์ให้ความรู้เกี่ยวกับด้านประเพณีต่างๆโดยเฉพาะพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีวิวามงคล พระราชพิธีราชาภิเษก พิธีปล่อยม้าอุปการ การยกทัพ เป็นต้น

๕. ด้านความเชื่อ พระรามเป็นพระนารายณ์อวตาร ฉะนั้น พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ จะใช้พระนามของพระรามเพื่อความเป็นสิริวัสดิมงคล เช่น พระรามาธิบดี พระราเมศวร เป็นต้น

 

          นอกจากนั้น เรื่องรามเกียรติ์มีอิทธิพลในด้านโหราศาสตร์ และการใช้ชื่อในรามเกียรติ์เป็นชื่อของสถานที่ ชื่ออาหาร เป็นต้น เช่น ถนนพระราม ๔ (ชื่อสถานที่) พระรามลงสรง(ชื่ออาหาร) รามเกียรติ์จึงมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยมิใช่น้อย

 

รามเกียรติ์เป็นบ่อเกิดและศูนย์รวมของศิลปะแขนงต่างๆ ดังนี้

 

๑. การแสดงโขน หนัง และหุ่น พระยาอนุมานราชธนเขียนไว้ว่า โขน จะเล่นแต่เรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น การแสดงโขนถือกันว่าเป็นศิลปะชั้นสูง เป็นที่นิยมว่าถ้าได้แสดงในงานใดก็เป็นการแสดงที่ให้เกียรติ์ ในศิลปะการแสดงโขนนี้ มีทั้งศิลปะการละคร การฟ้อนรำ การดนตรี การขับร้อง การพากย์ การประดิษฐ์เครื่องแต่งตัว การประดิษฐ์หัวโขน การจัดฉาก การล้อการเมือง

๒. จิตรกรรม ความประทับใจในเรื่องรามเกียรติ์ก่อให้เกิดจิตรกรรม เพื่อแสดงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในรามเกียรติ์ เช่น จิตรกรรมฝาผนังที่ระเบียงรอบโบสถ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) นั้นได้เล่าเรื่องราวรามเกียรติ์ตั้งแต่ต้นจนจบ ในภาพมีทั้งจินตนาการและภาพขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย ภาพปราสาทราชวังซึ่งอยู่ในเรื่องและภาพชีวิตชาวไทยสมัยก่อนแฝงอยู่

๓. ประติมากรรม ภาพสลักนูนแสดงตัวละครตามเนื้อเรื่องรามเกียรติ์ ที่วัดพระเชตุพน จัดเป็นประติมากรรมประเภทไม่ลอยตัวที่งดงามด้วยคุณค่าทางศิลปะ นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมลอยตัวรูปตัวละครยักษ์ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามและวัดอรุณราชวรารามและตุ๊กตาหินรูปหนุมานกับนางสุพรรณมัจฉาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นต้น

๔. ศิลปกรรม มีการนำเรื่องรามเกียรติ์มาเป็นศิลปกรรมประดับอาคารต่างๆ เช่น ในวัดพระเชตุพนฯ ลวดลายแถวไม้ปิดทองที่หน้าบรรณของวิหารทิศ และบานประตูลายมุกของพระอุโบสถ ล้วนประดิษฐ์ตามเรื่องรามเกียรติ์ทั้งสิ้น

 

bottom of page